วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การทำโครงงานต้องทำอย่างไร.....ถึงจะสนุก

ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน : จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ซึ่งได้นำมาประยุกต์ให้เหมาะสม
กับเนื้อหาวิชา วุฒิภาวะของนักเรียน และสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน จึงสามารถกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงงานได้

6 ขั้นตอน ดังนี้ 
1. เลือกเรื่องที่น่าสนใจ
2. เตรียมไปหาแหล่งความรู้
3. เข้าสู่การวางแผนก่อน
4. ทำตามขั้นตอนอย่างสนุกสนาน
5. เขียนรายงานอย่างมั่นใจ
6. นำเสนองานได้เหมาะสม


ขั้นตอนที่ 1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจ : ขั้นตอนแรกนี้ผู้เรียนจะต้องเลือกเรื่องที่เขาสนใจ โดยครูจะต้องเป็นผู้กระตุ้นหรือ
จัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนคิดเรื่องที่จะทำด้วยความพอใจ หัวข้อของโครงงานอาจได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความ
อยากรู้ อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลได้มาจากการได้อ่านหนังสือ การฟังการบรรยาย 

การทัศนศึกษา การได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆในชีวิตประจำวันหัวข้อโครงงาน ควรเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง
และชัดเจนว่าทำอะไร ควรเน้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และเกิดประโยชน์

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมไปหาแหล่งเรียนรู้ : ในขั้นนี้ผู้สอนจะต้องจัดเตรียมหรือชี้แนะแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ผู้เรียน
จะต้องใช้ ค้นคว้าหาคำตอบจากเรื่องที่เขาสนใจและสงสัย อาจเป็นประเภทเอกสาร ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ 
สื่อประเภทโสตทัศน์ วัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องได้รับรู้ว่ามีแหล่งความรู้ใดบ้าง 
ได้มองเห็นช่องทางที่จะใช้แหล่งความรู้นั้นๆ อย่างไรบ้าง และสามารถกำหนดแนวทางกว้างๆ 
ได้ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ 

ขั้นตอนที่ 3 เข้าสู่การวางแผนก่อน : เมื่อผู้เรียนได้กำหนดแนวทางกว้าง ๆแล้ว จะต้องนำแนวทางนั้นมาวางแผน
ในการ ทำงานว่าจะทำอะไรก่อนหล้ง โดยการสร้างแผนที่ความคิด แล้วนำมาจัดทำเค้าโครงของโครงงาน 
กำหนดเป็นหัวข้อ ต่างๆ ได้แก่ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ระยะเวลาดำเนินงาน
เหตุผลที่จัดทำโครงาน วัตถุประสงค์ของการจัดทำ ขั้นตอนการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
และแหล่งความรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 

ขั้นตอนที่ 4 ทำตามขั้นตอนอย่างสนุกสนาน : ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยอยู่ในความ
ดูแลและแนะนำของครูผู้สอน โดยผู้เรียนจะต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ มีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระยะ
ว่าทำอะไร ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคได้แก้ไขอย่างไร ผู้เรียนควรฝึกทักษะจากกิจกรรม และ

แหล่งความรู้ที่หลากหลาย ตามความสนใจ เกิดการเรียนรู้ตามลำดับขั้นโดยการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ได้สนุก
เพลิดเพลินกับการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีความสุข เกิดความภูมิใจในผลงานที่ปรากฎ 

และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ ได้อย่างเหมาะสม    

ขั้นตอนที่ 5 เขียนรายงานอย่างมั่นใจ : การดำเนินการตามขั้นตอนนี้ เป็นการสรุปการรายงานผลจากการปฏิบัต
งานที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบแนวคิด วิธีดำเนินงาน ผลที่ได้รับ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงงาน
การเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ อาจกำหนดเป็นหัวข้อต่างๆ
หรือรายบท ได้ดังนี้ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการศึกษา ผลการศึกษา สรุป และข้อเสนอแนะ รวมทั้ง
ภาคผนวกที่ต้องการนำเสนอในรายละเอียดด้วย  


ขั้นตอนที่ 6 นำเสนองานได้อย่างเหมาะสม : นับเป็นขั้ตอนสุดท้ายของการจัดทำโครงงาน 
เป็นการนำผลการดำเนินงาน ทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ โดยเน้นความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 
ความรับผิดชอบ อาจมีลักษณะเป็นเอกสาร รายงาน ชิ้นงาน แบบจำลอง ฯลฯ ซึ่งสามารถนำเสนอ
ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การสาธิต การบรรยาย การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ 
การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย ฯลฯ

ที่มาจาก http://school.obec.go.th/suplopburi/bussiness-M.S.5/project3.html