วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
mind mapping
Mind Map กับการศึกษา และการจัดการความรู้
ความเป็นมาของ Mind Map® ได้บัญญัติขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2517 โดย คุณโทนี บูซาน ซึ่ง Mind Map® นี้เป็น Graphic Organizers รูปแบบหนึ่งที่ทำงานตามธรรมชาติความคิดของเรา เป็นเทคนิคเชิงกราฟฟิคที่ทรงพลังเสมือนกุญแจสารพัดประโยชน์ที่จะเปิดสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะเป็นการใช้ความสามารถของสมองทั้ง 2 ซีก คือ ซ้ายและขวาให้มีกระบวนการคิดที่เชื่อมโยงกัน โดยลักษณะสำคัญของ Mind Map® มี 4 ประการ คือ
1.หัวเรื่องที่เป็นข้อใหญ่ใจความได้รับการกลั่นกรองจนตกผลึกเป็นภาพ “แก่นแกน” ตรงกลาง
2.ประเด็นสำคัญกระจายเป็นรัศมีออกมาเป็น “ก้าน” หรือ กิ่งแก้ว แตกแขนงออกจาก “แก่นแกน”
3.กิ่งที่แตกแขนงออกมาแต่ละกิ่งรองรับ คำไข/ภาพ โดยมีเส้นเชื่อมเป็นรายละเอียดออกมารอบๆ
4.กิ่งก้านต่างๆต้องเชื่อมต่อยึดโยงกันดุจกิ่งไม้หรือรากไม้
Mind Map® เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการบันทึกข้อมูลและความคิดเป็นภาพ ซึ่งเครื่องมือนำเสนอด้วยภาพ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- ดาว / ใยแมงมุม / เครือข่าย
เหมาะสำหรับการอธิบาย คำจำกัดความ คุณสมบัติ คุณลักษณะ
- แผนภูมิ / ตาราง / แถวอันดับ
เหมาะสำหรับแสดงคุณสมบัติ คุณลักษณะเปรียบเทียบ การประเมิน
- ต้นไม้ / แผนที่
เหมาะสำหรับการ จำแนก ตารางชาติตระกูล สายพันธ์
- ลูกโซ่
เหมาะสำหรับกระบวนการเหตุและผล ที่มาที่ไป ลำดับเหตุการณ์ในอดีต
- ภาพร่าง
เหมาะสำหรับโครงสร้างทางกายภาพ ทำเลที่ตั้ง สถานที่ รูปลักษณ์
เครื่องมือนำเสนอด้วยภาพที่น่าสนใจ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ตามการนำเสนอข้อมูล
- แผนภาพใยแมงมุม Spider Map เริ่มจากตรงกลางแผนที่ด้วยประเด็นสำคัญของเรื่องหรือปัจจัยร่วมแล้วแตกรัศมีออกไปรอบๆ
- แผนภูมิ ตามลำดับชั้น Hierarchy Map นำเสนอข้อมูลที่มีลำดับความสำคัญหรือลำดับชั้นสูงต่ำ
- Flow Chart นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ต่อเนื่องเป็นเส้นตรง หรือกระบวนการ
- System Map นำเสนอข้อมูลที่เหมือน Flow Chart แต่เพิ่ม Input และ Outputs
- picture / Landscape Map นำเสนอข้อมูลที่เป็นภูมิทัศน์ ทัศนียภาพ หรือ ภาพ
- Multidimentional / 3-D Concept Map นำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนมากๆ
- Mandala / Mandala Concept Map นำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
ข้อเหมือนกันของ Mind Map® กับ Concept Map
- ใช้คำสั้นๆและเส้นในการจดบันทึกความคิดหรือข้อมูลแต่ละคำก็แตกออกไปได้รอบทิศทาง
ข้อแตกต่าง Mind Map® กับ Concept Map
- จุดเริ่มต้น / ใจกลาง Concept Map อาจมีข้อมูลความคิดรวบยอดหรือกระบวนทัศน์ มากกว่าหนึ่งประเด็นได้ แต่ Mind Map® มีแก่นแกนได้ประการเดียวเท่านั้น
- สี Concept Map นั้นไม่สนใจ แต่ Mind Map® จะถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก
- Concept Map ล้อมวงตีกรอบแต่ Mind Map® ไม่ให้ล้อมกรอบ
- Concept Map มักใช้เส้นตรง แต่ Mind Map® เส้นจะเน้นที่โค้งกับความยาวของภาพ
- Mind Map® เน้นการใช้คำมูล
- แผนภาพใยแมงมุม Spider Map เริ่มจากตรงกลางแผนที่ด้วยประเด็นสำคัญของเรื่องหรือปัจจัยร่วมแล้วแตกรัศมีออกไปรอบๆ
- แผนภูมิ ตามลำดับชั้น Hierarchy Map นำเสนอข้อมูลที่มีลำดับความสำคัญหรือลำดับชั้นสูงต่ำ
- Flow Chart นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ต่อเนื่องเป็นเส้นตรง หรือกระบวนการ
- System Map นำเสนอข้อมูลที่เหมือน Flow Chart แต่เพิ่ม Input และ Outputs
- picture / Landscape Map นำเสนอข้อมูลที่เป็นภูมิทัศน์ ทัศนียภาพ หรือ ภาพ
- Multidimentional / 3-D Concept Map นำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนมากๆ
- Mandala / Mandala Concept Map นำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
ข้อเหมือนกันของ Mind Map® กับ Concept Map
- ใช้คำสั้นๆและเส้นในการจดบันทึกความคิดหรือข้อมูลแต่ละคำก็แตกออกไปได้รอบทิศทาง
ข้อแตกต่าง Mind Map® กับ Concept Map
- จุดเริ่มต้น / ใจกลาง Concept Map อาจมีข้อมูลความคิดรวบยอดหรือกระบวนทัศน์ มากกว่าหนึ่งประเด็นได้ แต่ Mind Map® มีแก่นแกนได้ประการเดียวเท่านั้น
- สี Concept Map นั้นไม่สนใจ แต่ Mind Map® จะถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก
- Concept Map ล้อมวงตีกรอบแต่ Mind Map® ไม่ให้ล้อมกรอบ
- Concept Map มักใช้เส้นตรง แต่ Mind Map® เส้นจะเน้นที่โค้งกับความยาวของภาพ
- Mind Map® เน้นการใช้คำมูล
แผนที่ความคิดมีความสำคัญต่อนักเรียน นักศึกษาเพราะมันเปิดโอกาสและช่วยส่งเสริมให้
- วิเคราะห์และโยงเชื่อม
- เป็นนักคิดที่มีคุณภาพ
- เรียนรู้อย่างมีความหมาย
- คิดอย่างยืดหยุ่นได้
- สื่อสารผู้อื่นได้อย่างชัดเจนและดีขึ้น
- รับผิดชอบและเป็นฝ่ายรุกต่อการเรียนรู้
- ตีความและตีกรอบองค์ความรู้ได้
- แสวงหาความหมาย ไล่ล่าหาโครงสร้างของโลกรอบตัว
- ขยายความ มองออกไปนอกห้องเรียน นอกสถาบันการศึกษา
- จัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นระบบแต่ยืดหยุ่น
- เข้าใจและมีทัศนะที่เป็นบวกต่อข้อมูลและข้อโต้แย้ง
- ตัดสินใจอย่างผู้ที่มองรอบด้าน
- เห็นความคิดของตนเอง และพร้อมที่จะแสดงความคิดเห็น
- เป็นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
- วิเคราะห์และโยงเชื่อม
- เป็นนักคิดที่มีคุณภาพ
- เรียนรู้อย่างมีความหมาย
- คิดอย่างยืดหยุ่นได้
- สื่อสารผู้อื่นได้อย่างชัดเจนและดีขึ้น
- รับผิดชอบและเป็นฝ่ายรุกต่อการเรียนรู้
- ตีความและตีกรอบองค์ความรู้ได้
- แสวงหาความหมาย ไล่ล่าหาโครงสร้างของโลกรอบตัว
- ขยายความ มองออกไปนอกห้องเรียน นอกสถาบันการศึกษา
- จัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นระบบแต่ยืดหยุ่น
- เข้าใจและมีทัศนะที่เป็นบวกต่อข้อมูลและข้อโต้แย้ง
- ตัดสินใจอย่างผู้ที่มองรอบด้าน
- เห็นความคิดของตนเอง และพร้อมที่จะแสดงความคิดเห็น
- เป็นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
วิธีการนำเข้าสู่การเรียนรู้ทักษะการเรียน Mind Map®
ก็คือพยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือกระบวนทัศน์ของการเรียน Mind Map®
กับประสบการณ์ตรงในเรื่องแผนที่ของผู้เรียนเอง จากนั้นเริ่มนำเข้าสู่ประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
- การคัดเลือกข้อมูล
- คำกุญแจ/ประเด็นหลัก/สัญลักษณ์
- การจัดระบบเชิงภาพ
- ประโยชน์ใช้สอยของแผนที่
- ลงมือเขียนแผนที่
ก็คือพยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือกระบวนทัศน์ของการเรียน Mind Map®
กับประสบการณ์ตรงในเรื่องแผนที่ของผู้เรียนเอง จากนั้นเริ่มนำเข้าสู่ประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
- การคัดเลือกข้อมูล
- คำกุญแจ/ประเด็นหลัก/สัญลักษณ์
- การจัดระบบเชิงภาพ
- ประโยชน์ใช้สอยของแผนที่
- ลงมือเขียนแผนที่
ขั้นตอนในการเขียน Mind Map® 7 ขั้นตอน
1.วางกระดาษเปล่าตามแนวนอน เริ่มจากกลางหน้ากระดาษ เพราะมันจะช่วยให้มีอิสระในการคิดแผ่ขยายได้ตามธรรมชาติ
2.ใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์แทนประเด็นหลัก ที่ศูนย์กลางซึ่งเรียกว่า “แก่นแกน”
3.ใช้สีสันให้ทั่วทั้งแผ่น
4.เชื่องโยง “กิ่งแก้ว” เข้ากับ “แก่นแกน” ที่อยู่ตรงกลาง และเชื่อม “กิ่งแก้ว” ออกไปเป็นขั้นที่ 2 และ 3
5.วาดกิ่งที่มีสัญลักษณ์เป็นเส้นโค้ง
6.ใช้คำมูล เพียงคำเดียวบนแต่ละกิ่ง
7.ใช้รูปภาพ ประกอบให้ทั่วทั้งแผ่น Mind Map® เพราะภาพแทนคำได้เท่ากับคำพันคำ
ข้อแนะนำในการทำ Mind Map®
1. แก่นแกน ควรมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่ หรือ เล็กเกินไป
2. ห้ามล้อมแก่นแกน
3.เส้นของกิ่งแก้วต้องโยงเชื่อมต่อกับแก่นแกนเสมอ
4.คำยิ่งสั้นยิ่งดี ควรเป็นคำมูล
5.เส้นต้องมีความยาวสัมพันธ์กับคำหรือภาพ
6.กิ่งก้อยที่แตกแขนงออกมากิ่งแก้วควรมีสีเดียวกันทั้งแขนง
7.ต้องแตกกิ่ง ณ จุดสุดท้ายของเส้นเสมอ
8.อย่าเขียนกลับหัวตัวอักษร/อย่าหมุนกระดาษ
9.ไม่ควรใช้วลีหรือประโยค
10.เส้นต้องเชื่องโยงกัน อย่าเขียนเส้นให้ขาดหรือแหว่ง
11.ห้ามล้อมวงกลมที่คำหรือภาพ
12.ห้ามเขียนคำ/ภาพปิดท้ายเส้น
13.ห้ามเขียนคำ/ภาพทั้งบนและใต้กิ่งเดียวกัน
1. แก่นแกน ควรมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่ หรือ เล็กเกินไป
2. ห้ามล้อมแก่นแกน
3.เส้นของกิ่งแก้วต้องโยงเชื่อมต่อกับแก่นแกนเสมอ
4.คำยิ่งสั้นยิ่งดี ควรเป็นคำมูล
5.เส้นต้องมีความยาวสัมพันธ์กับคำหรือภาพ
6.กิ่งก้อยที่แตกแขนงออกมากิ่งแก้วควรมีสีเดียวกันทั้งแขนง
7.ต้องแตกกิ่ง ณ จุดสุดท้ายของเส้นเสมอ
8.อย่าเขียนกลับหัวตัวอักษร/อย่าหมุนกระดาษ
9.ไม่ควรใช้วลีหรือประโยค
10.เส้นต้องเชื่องโยงกัน อย่าเขียนเส้นให้ขาดหรือแหว่ง
11.ห้ามล้อมวงกลมที่คำหรือภาพ
12.ห้ามเขียนคำ/ภาพปิดท้ายเส้น
13.ห้ามเขียนคำ/ภาพทั้งบนและใต้กิ่งเดียวกัน
การนำ Mind Map® มาใช้ในการเรียนการสอน
Mind Map® ช่วยให้การเรียนการสอนง่ายและสนุกสนานได้หลายวิธี เช่น
1.ใช้เตรียมการสอน เพราะจะทำให้สามารถสอนแบบธรรมชาติและเป็นระบบ
2.วางแผนรายปี ช่วยให้ครูเห็นแผนการสอนตอลดทั้งปีการศึกษา
3.วางแผนรายภาคเรียน ช่วยให้ครูรู้ว่าภาคนี้จะสอนอะไรบ้าง
4.วางแผนรายวัน ลงรายละเอียดทบทวนบทเรียนเดิมที่จะสอนนักเรียน
5.การสอน เป็นการใช้ขณะสอนนักเรียนในชั้นเรียน
6.การสอบของนักเรียน เป็นการวัดความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจของนักเรียนได้ดี
7.โครงการ/โครงงาน ใช้ทำกิจกรรม หรือ นิทรรศการ หรือ วางแผนงาน
ข้อดีของการใช้ Mind Map® ช่วยสอน
- ช่วยให้นักเรียนสนใจเรียน
- รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องธรรมชาติ สร้างสรรค์สนุกสนาน
- ไม่ซ้ำซาก ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
- นักเรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ดีขึ้น
- นักเรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าเดิม
- กระดาษลดลง
- ลดปัญหาการนำเสนอความคิดที่ยาก
- ช่วยให้นักเรียนสนใจเรียน
- รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องธรรมชาติ สร้างสรรค์สนุกสนาน
- ไม่ซ้ำซาก ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
- นักเรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ดีขึ้น
- นักเรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าเดิม
- กระดาษลดลง
- ลดปัญหาการนำเสนอความคิดที่ยาก
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นศักยภาพการใช้แผนที่ความคิดและวาดภาพประกอบการสัมภาษณ์ ช่วยให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพ เกิดการสื่อสารได้สองทาง
Mind Map® กับการจัดการความรู้ และ ประสบการณ์การนำ Mind Map® มาใช้ในชุมชน Mind Map® สามารถเป็นเครื่องมือในการระดมสมอง ระดมความคิดของชาวบ้านได้มีการพัฒนาความคิดและเป็นเครื่องมือที่นำมาพัฒนาความคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและทำให้เกิดความรู้มากมายมหาศาล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)