วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จิตวิทยาสำหรับครู

สาระความรู้ 1) จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์
2) จิตวิทยาการศึกษา
3) จิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
สมรรถนะ
1) เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน
2) สามารถช่วยเลือกผู้เรียนให้เรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตน
3) สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) สามารถส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

ความพร้อมของผู้เรียน
1. ความ พร้อมทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงความพร้อมอันเกิดจากความเป็นปกติทางร่างกาย เช่น ไม่อดนอน ไม่หิวโหย ไม่เจ็บป่วย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เป็นต้น
2. ความ พร้อมทางด้านจิตใจและด้านอารมณ์ เรื่องนี้ครู อาจารย์มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยู่เหมือนเดิม ส่วนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง
3. ความพร้อมทางด้านสติปัญญา หมายถึงการมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ทางวิชาการ

หลักการสำคัญของการเรียนรู้
1.ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) หมาย ความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมาก นัก นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นัก เรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า จะต้องเป็นคนเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่กับเรื่องรอบ ๆ ตัว จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน
2.ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation) ตัวอย่าง เช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
3.ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป (Immediate feedback) เมื่อ นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้ ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าเขาไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือต้องคอยเป็นเวลานานจึงจะได้รับเขาจะ เกิดการเรียนรู้น้อย และในขณะเดียวกันความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ก็จะมีไม่มา
4. การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)

องค์ประกอบของบุคคลผู้เป็นครู
องค์ประกอบที่หนึ่ง ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอน ความรู้ ความเข้าใจที่ว่านี้ หมายถึง การเข้าถึงแก่นของเนื้อหา ทฤษฎี หลักการต่าง ๆ ซึ่งในบางวิชาครูท่านเรียกว่า มโนทัศน์หรือสมัย 40 ปีที่แล้ว เรียกกันว่าความคิดรวบยอด (Concept) ของเนื้อหานั่นเอง ครูจะสอนเรื่องอะไรก็ต้องมีความเข้าใจชัดเจน แจ่มแจ้งแทงตลอด หรือที่เรียกกันว่าเกิด insight ใน เนื้อหานั้น ทั้งนี้เพราะว่าหากครูผู้สอนไม่รู้แจ้งในเนื้อหาเสียแล้ว ก็จะนำไปสู่ความยากลำบาก ในการที่จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วย
องค์ประกอบที่สอง บุคลิกภาพของครู บุคลิกภาพหมายถึงลักษณะโดยรวมของบุคคลทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ บางอย่างก็แสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ได้ บางอย่างก็ไม่แสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ บุคลิกภาพมีส่วนอย่างสำคัญต่อการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ องค์ประกอบของบุคลิกภาพของครูสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1) ด้านกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ และการแต่งกายเป็นสำคัญ ครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพเป็นปกติและน่าศรัทธา น่านับถือ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในการอยู่ร่วมกับลูกศิษย์มากกว่าครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพที่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผิดปกติในทางที่ไม่ดี หากจะกล่าวเฉพาะในด้านการแต่งกายแล้ว อาจจะสรุปได้ว่าการแต่งกายที่เหมาะสมที่สุดของครู คือการแต่งกาย (ซึ่งรวมถึงการแต่งหน้าและทรงผมด้วย) ที่สะอาด เรียบร้อย ดูดี น่านับถือ ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า Neat and Clean นั่งเอง
2) ด้านวาจา หมายถึง การแสดงออกโดยทางวาจา บุคลิกภาพ ทางวาจาที่ดีของครู หมายถึง การพูดด้วยถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมกับวุฒิภาวะของลูกศิษย์ ซึ่งหมายถึง ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป การพูดด้วยน้ำเสียงที่แฝงด้วยความเมตตา ปรารถนาดี นุ่มนวล การพูดด้วยลีลาที่เหมาะสม ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป และรวมไปถึงการพูดน้อย หรือเงียบขรึมจนเกินไป หรือการพูดมากจนน่ารำคาญด้วย
3) ด้านสติปัญญา หมายถึง การมีไหวพริบที่ดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม มีการตัดสินใจที่ดี และการมีอารมณ์ขันที่เหมาะสม ซึ่งหมายถึงการสร้างอารมณ์ขันให้แก่ลูกศิษย์ และการรับอารมณ์ขันของลูกศิษย์ได้ดี
4) ด้านอารมณ์ หมายถึง การควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่แสดงออกซึ่งความรู้สึก ต่าง ๆ ได้ง่ายจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์มีใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า หรืออารมณ์หงุดหงิดรำคาญก็ตาม ครูที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสมคือครูที่มีอารมณ์ดี มั่งคง เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และวาจาให้ลูกศิษย์รับรู้ได้ แต่จะอย่างไรก็ตามครูก็อาจจะโกรธลูกศิษย์บ้างก็ได้หากมีเหตุผลอันสมควรให้ โกรธ ไม่ใช่โกรธเพราะครูอารมณ์ไม่ดี และก็มีครูจำนวนไม่น้อยที่ดูเหมือนจะโกรธหรือขัดใจกับลูกศิษย์อยู่เป็นเนือง นิจ แต่ลูกศิษย์ก็สามารถปรับตัวได้เพราะเกิดการเรียนรู้ว่านั่นคือลักษณะของครู ซึ่งก็คงเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า หากอารมณ์ดีเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้ ก็ขอให้อารมณ์ร้ายคงเส้นคงวา ดีกว่าคุ้มดีคุ้มร้าย นั่นเอง เพราะครูที่มีอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้ายจะทำให้ลูกศิษย์ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย ๆ
5) ด้านความสนใจ หมายถึงการมีความกระตือรือร้นที่จะรับรู้เรื่องหรือความรู้ต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างหลากหลาย ความสนใจที่กว้างขวางย่อมเกิดจากประสบ-การณ์ที่หลากหลายของบุคคลนั้น ๆ ครูที่มีความสนใจกว้างขวางจะเป็นครูที่สามารถเลือกใช้คำพูดหรือการกระทำให้ ถูกใจคนได้หลายลักษณะ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการสื่อสารความคิดที่ว่า บุคคลที่มีความสนใจตรงกันจะสื่อสารความคิดกันได้ดี แต่เนื่องจากลูกศิษย์ของครูมีจำนวนหลายคนและหลากหลายความสนใจ ครูจึงต้องมีความสนใจหลากหลายตามไปด้วย มิเช่นนั้นแล้วก็จะถูกใจลูกศิษย์ส่วนน้อย แต่ไม่ถูกใจลูกศิษย์ส่วนมาก
องค์ประกอบที่สาม ความสามารถในการสอน หมายถึงการที่ครูสามารถทำให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูต้องการจะสอน ทั้งนี้ความหมายของการสอนมิได้หมายความถึงเฉพาะการถ่ายทอดความรู้จากตัวครู ไปสู่นักเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงความสามารถในการทำให้ นักเรียน "เรียนรู้" และเกิดอาการ "ใฝ่รู้" ด้วยความสามารถในการสอนของครูเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ หมายถึงการมีใจเอนเอียงในทางบวกต่ออาชีพครู ว่าเป็นอาชีพที่สำคัญต่อสังคม เป็นอาชีพในระดับวิชาชีพ เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และวุฒิภาวะทุก ๆ ด้านเป็นอย่างมาก บุคคลที่ประกอบอาชีพครูโดยมีทัศนคติทีดีต่อวิชาชีพครูย่อมมีโอกาสที่จะสอน ได้ดีกว่าบุคคลที่ดูหมิ่นดูแคลน หรือเบื่อหน่ายวิชาชีพครูอย่างแน่นอน
2) ทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน มีความเมตตา ปรารถนาดีต่อนักเรียน ปรารถนาจะให้เขาเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ครูทำการสอน มีความคิดความเชื่อว่านักเรียนก็มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ครูทำ การสอนเช่นเดียวกัน
3) ความเข้าใจในหลักสูตร เข้าใจในวัตถุประสงค์และขอบข่ายเนื้อหาของหลักสูตรอย่างชัดเจน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็ย่อมไม่สามารถหานักเรียนไปสู่เป้าหมายปลายทางในการส อน หรืออาจสอนนอกเรื่อง หรือพานักเรียนออกนอกลู่นอกทางได้
4) ความรู้ความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการ รู้ลักษณะและธรรมชาติของผู้เรียนหรือ ลูกศิษย์ของตนเอง ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์สังคม
5) ความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาการสอน เช่น รู้ว่าการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ย่อมเกิดผลมากกว่าการเรียนรู้โดยการฟังอย่างเดียว การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่นนี้เป็นต้น
6) ความสามารถในการสื่อสารความคิดกับนักเรียน ซึ่งหมายความรวมทั้ง การพูด การฟัง การเขียน การอ่าน และการสื่อสารความคิดด้วยสีหน้าท่าทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการรับฟังความคิดความสนใจและความต้องการของ นักเรียน การอธิบาย การถาม คำถาม และการตอบคำถามของนักเรียน ถือเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญยิ่งของการสอน
7) ความสามารถในการใช้สื่อการสอน หมายถึงความสามารถที่จะคิด และเลือกใช้ สื่อประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากในเวลาอันสั้น โดยที่ครูและนักเรียนต่างก็เหนื่อยไม่มาก ซึ่งจะเป็นการใช้สื่อที่เหมาะสมมากกว่าที่จะหมายความว่าเป็นสื่อการสอนที่ ทันสมัยและราคาแพงเป็นสำคัญ
8) ความสามารถในการวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียน และครูทราบว่าการเรียนการสอนนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร มากน้อยเพียงใด การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนนั้นครูผู้สอนถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทมากที่สุด เพราะบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกย่อมไม่เข้าใจถึงปัจจัยและกลไกของการเรียน การสอนนั้น เมื่อครูผู้สอนมีความสามารถในการวัดและประเมินผล ย่อมสามารถบอกได้ว่าผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนนั้นไปอย่างไร เรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน ก็คือ นักเรียนถูกประเมินว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนทั้ง ๆ ที่เขาเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุ-ประสงค์นั้น ๆ หรือในทางกลับกันนักเรียนได้รับการประเมินว่าผ่านหรือบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง ๆ ที่เขาเกิดการเรียนรู้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

1 ความคิดเห็น: