วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คีย์ลัดใน Firefox

มาดูซิว่าคีย์ลัดใน Firefox ที่เราไม่ค่อยรู้จักนั้นมีอะไรบ้าง

  • Spacebar – เพื่อเลื่อนหน้าเว็บลง 1 หน้าทุกครั้งที่กด
  • Shift + Spacebar – เลื่อนหน้าเว็บขึ้น 1 หน้าทุกครั้งที่กด
  • ลูกศรชี้ลง – เลื่อนหน้าเว็บลง
  • ลูกศรชี้ขึ้น – เลื่อนหน้าเว็บขึ้น
  • Page Up –  เลื่อนหน้าเว็บขึ้น 1 หน้าทุกครั้งที่กด
  • Page Down – เลื่อนหน้าเว็บลง 1 หน้าทุกครั้งที่กด
  • End – ไปยังตำแหน่งสุดท้ายของหน้าเว็บ
  • Home – ไปยังตำแหน่งบนสุดของหน้าเว็บ
  • Alt + Home – ไปที่หน้า Home Page ที่ตั้งค่าไว้
  • F5 – รีโหลดหน้าเว็บปัจจุบันที่เปิดอยู่
  • F3 – เปิด Find toolbar
  • Ctrl + F – เปิด Find toolbar
  • Ctrl + R – รีโหลดหน้าเว็บปัจจุบันที่เปิดอยู่
  • Ctrl + L – ไปที่ Address bar
  • Ctrl + K – ไปที่ Search Box ของโปรแกรม
  • Ctrl + N – เปิดหน้าต่างใหม่
  • Ctrl + O – เปิด ไฟล์
  • Ctrl + = (เครื่องเท่ากับ) – ซูมขนาดตัวอักษรในหน้าเว็บให้ใหญ่ขึ้น (Zoom in)
  • Ctrl + – (เครื่องหมายลบ) – ลดขนาดตัวอักษรในหน้าเว็บให้เล็กลง (Zoom out)
  • Ctrl + 0 (เลขศูนย์) – คืนค่าขนาดตัวอักษรเป็นค่าดีฟอลต์
  • Ctrl + P – พิมพ์หน้าเว็บปัจจุบันออกเครื่องพิมพ์
  • Ctrl + H – เปิดหน้า History เป็นหน้าต่างย่อย ทางด้านซ้ายของหน้าเว็บ
  • Ctrl + S – เซฟหน้าเว็บปัจจุบัน
  • Ctrl + T – เปิดแท็บใหม่
  • Ctrl + W  - ปิดแท็บปัจจุบัน
  • Ctrl + Tab – ไปยังแท็บๆ ต่อไปทางหน้าขวา
  • Ctrl + Shift + Tab – กลับไปยังแท็บที่ผ่านมาทางด้านซ้าย
  • Ctrl + 1-9 – ไปยังแท็บลำดับที่ตรงกับตัวเลข เช่น 5 ก็ไปที่แท็บที่ 5
  • Ctrl + B – เปิด – ปิด Bookmarks เป็นหน้าต่างย่อยทางซ้าย
  • Ctrl + I – เปิด – ปิด Bookmarks เป็นหน้าต่างย่อยทางซ้าย
  • Ctrl + D – ทำ bookmark ของหน้าเว็บปัจจุบัน
  • Ctrl + U – ดูโค้ดของหน้าเว็บ
  • Ctrl + J – เปิดหน้าต่างแสดงการดาวน์โหลด
  • Ctrl + Enter – เปิดลิงค์ที่อยู่บน Address bar บนแท็บใหม่
  • Shift + Enter – เปิดลิงค์ที่อยู่บน Address bar บนหน้าต่างใหม่
ขอแถมด้วยการใช้ คีย์บอร์ดร่วมกับเมาส์สักเล็กน้อย โดยการกดคีย์ร่วมกับ Scroll  Wheel ของเมาส์
  • Shift + Scroll down – ไปยังหน้าแว็บที่ผ่านมาแล้วก่อนหน้า
  • Shift + Scroll up – ไปยังหน้าเว็บถัดไป
  • Ctrl + Scroll up – ซูมขนาดตัวอักษรในหน้าเว็บให้ใหญ่ขึ้น
  • Ctrl + Scroll down – ลดขนาดตัวอักษรในหน้าเว็บให้เล็กลง
  • ใช้ Scroll  wheel คลิกที่ลิงค์ – เปิดลิงค์นั้นที่แท็บใหม่
  • ใช้ Scroll  wheel คลิกที่แท็บ – ปิดแท็บนั้น

ที่มา: sanook.com

idm for firefox5

วิธีทำให้ firefox 5 สามารถทำงานร่วมกับ IDM ได้ ต้องไป download add on (ส่วนเสริม) ซะก่อนจากลิ้งก์นี้ คลิกที่ปุ่ม install แล้วรอแป๊ปเดียว จากนั้น ปิด-เปิด firefox ใหม่ก็จะสามารถใช้ IDM ได้แล้ว

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบการจัดการเรียนรู้

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
               
           การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

กระบวนการจัดการเรียนรู้
                1.  กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
                2.  วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน
                3.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
                4.  ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ
                5.  เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
                6.  ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ
                7.  จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
                8.  ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบการเรียนรู้
                เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ  ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ คือ
                1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                3.  การนำเสนอความรู้
                4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยง หรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่  และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
                องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
                ผู้เรียน  รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
                ผู้สอน  ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่าง  เพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยในการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
                ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้  ซึ่ง ทำได้ทั้งทางตรง เช่น การนำตัวอย่างของจริงมาให้ผู้เรียนได้สัมผัสเพื่อสังเกตความแตกต่าง และทางอ้อม เช่น การเล่าประสบการณ์ชีวิตจากเรื่องที่ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียน ได้
                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียน  และการจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้านดังนี้
                ด้านความรู้  เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะสอน
                ด้านเจตคติ  เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียน  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสอดคล้องกับจุดประสงค์  และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับความคิดความเชื่อต่อไป
                ด้านทักษะ  เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทำทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน

                2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ข้อมูล  ความคิดเห็น  ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้  เป็น กิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดสะท้อนความคิดหรือบอก ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดระหว่าง กันอย่างลึกซึ้ง  จนเกิดความเข้าใจชัดเจนได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่หรือเกิด/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
                ด้านความรู้  ตั้งประเด็นให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์  กรณีศึกษา  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การวิเคราะห์แยกประเภทหรือจัดกลุ่มการวิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
                ด้านเจตคติ  ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย  กระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลาย เน้นในเรื่องคุณค่าอารมณ์ความรู้สึก  ความคิดความเชื่อ  มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการ  ข้อสรุปจากการอภิปรายและความคิดรวบยอดที่ได้จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
                ด้านทักษะ  ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือฝึกปฏิบัติจนชำนาญ

                3.  การนำเสนอความรู้
                เป็นองค์ประกอบที่เน้นให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ ได้แก่
                -  การให้แนวคิด ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้  ขั้นตอนทักษะ  ซึ่งทำได้โดยการบรรยาย  ดูวีดีทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร/ใบความรู้/ตำรา  ฯลฯ
                -  การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
                -  ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและอภิปรายประเด็นที่ได้มอบหมายให้
                กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
                ด้านความรู้  ผู้เรียนเกิดความรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
                ด้านเจตคติ  ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดให้
                ด้านทักษะ  ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ อย่างชัดเจน

                4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุป  หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อ พิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
                จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  มีดังนี้
                ด้านความรู้  เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สร้างคำขวัญ  ทำแผนภาพ  จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์/เปรียบเทียบ ฯลฯ
                ด้านเจตคติ  เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น  เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์  สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
                ด้านทักษะ  เป็นการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทักษะที่ได้เรียนรู้

                การนำองค์ประกอบทั้ง 4  มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้  จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลังหรือใช้องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด  แต่จำเป็นต้องให้มีครบทั้ง 4 องค์ประกอบ ในแต่ละองค์ประกอบสามารถออกแบบกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ดังที่จะกล่าวต่อไป

การออกแบบกิจกรรม
                มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมได้ตรงตามความต้องการของผู้สอน  และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
                หลักการในการออกแบบกิจกรรม  มีดังนี้
                1.  จัดกิจกรรมให้ครบ 4 องค์ประกอบ การเรียนรู้แต่ละกิจกรรมควรมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
                2.  กำหนดกิจกรรมที่ชัดเจนว่าจะให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มอย่างไร  เพื่อทำอะไร  ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน  โดยจัดเวลาให้เหมาะสมตามความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบการเรียนรู้  เมื่อทำงานเสร็จแล้วให้ทำอะไรต่อ เช่น ส่งตัวแทนนำเสนอผลงาน  นำผลงานไปติดบอร์ดให้สมาชิกทั้งชั้นได้อ่าน ฯลฯ
                3.  กำหนดบทบาทของกลุ่มและสมาชิกแต่ละคนให้ชัดเจน  โดยทั่วไปควรให้แต่ละกลุ่มมีบทบาทที่ต่างกัน  เมื่อนำมารวมกันในชั้นจะเกิดการขยายการเรียนรู้  ไม่ซ้ำซ้อนน่าเบื้อและใช้เวลาน้อยลง  โดยเฉพาะการทำกิจกรรมที่จะต้องมีการจัดสรรบทบาทสมาชิก  ควรกำหนดบทบาทสมาชิกให้ชัดเจน เช่น เป็นผู้เล่นบาทบาทสมมติ  เป็นผู้สังเกตการณ์  เป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานในชั้น  ฯลฯ
                4.  กำหนดโครงสร้างของงานที่ชัดเจน  บอกรายละเอียดของกิจกรรม  บทบาทสมาชิกในกลุ่มกรอบการทำงานที่เป็นรูปธรรม  กำหนดเวลาทำงานในกลุ่มและเวลาในการนำเสนอ  ตลอด จนสิ่งอื่น ๆ ที่จะช่วยให้กลุ่มทำงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เช่น ตารางนำเสนอผลงานกลุ่มตารางวิเคราะห์ผลการอภิปรายกลุ่มแผนภูมิก้างปลา ฯลฯ
                โครงสร้างของงานนี้สามารถออกแบบจัดทำเป็นใบกิจกรรมแจ้งแก่ผู้เรียนหรือเขียนลงแผ่นโปรงใสฉายขึ้นจอ  เป็นต้น

การออกแบบปฏิสัมพันธ์
                จากผลการวิจัยกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นครูเป็นศิษย์กลางพบว่า  มีผลต่อผู้เรียนดังนี้
                1.  ผู้เรียนขาดประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่ม  ขาดทักษะในการวางแผนการอภิปราย  การคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
                2.  การเน้นครูเป็นศูนย์กลาง  ครูใช้วิธีสอนแบบเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น  ซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ทำให้ผู้เรียนบางคนไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จทางการเรียนได้  เพราะคนเก่งจะเรียนรู้ได้ดีกว่า  คนที่ไม่เก่งอาจถูกละเลยไป
                3.  ผู้เรียนส่วนใหญ่จะบรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะตน  ก่อให้เกิดการแข่งขันเป็นรายบุคคล  ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม  ขาดความร่วมมือ  ขาดความรักและสามัคคีในหมู่คณะ  ทำให้เป็นคนที่ไม่รู้จักการเสียสละและเห็นแก่ตัวในที่สุด
                การออกแบบปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จึงเป็นการจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด  แทนการฟังบรรยายอย่างเดียว  เนื่องจากข้อค้นพบจากงานวิจัยต่าง ๆ ในเรื่องการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มพบว่า
                1.  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น  มีความสามารถและมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ มากขึ้นเพราะกลุ่มเป็นที่รวมของประสบการณ์ของคนหลายคน  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  หาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันนอกจากนี้กลุ่มยังเป็นแรงจูงใจซึ่งกันและกัน  ส่งผลให้ทำงานประสบผลสำเร็จมากขึ้น
                2.  ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจริยธรรม  กล้าแสดงความคิดเห็น  ฝึกตัดสินใจและแก้ปัญหา  รู้จักวางแผน  มีวินัย  มีความรับผิดชอบ  รู้จักเป็นผู้นำ/ผู้ตาม  ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยตลอดจนเรียนรู้ค่านิยมที่ดีระหว่างผู้เรียน  ความเห็นอกเห็นใจ  การช่วยเหลือและการยอมรับซึ่งกันและกันโดยไม่แบ่งแยก
                3.  ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  เพราะการมีปฏิสัมพันธ์และการได้ลงมือคิดเองทำเอง  ทำให้การเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นไปด้วยความสนุกสนาน  มีชีวิตชีวา  มีความซาบซึ้ง  จดจำได้นาน  ออกจากนี้ยังเป็นการฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม
                โดยภาพรวมแล้วการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มจะช่วยปลูกฝังความใฝ่รู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียน
                การเลือกประเภทของกลุ่มให้เหมาะสมกับแต่ละกิจกรมการเรียนรู้  จึงช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเกิดขึ้นอย่างเต็มที่  เมื่อรวมกับการออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด  จึงทำให้ผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
                หลักการออกแบบปฏิสัมพันธ์  มีข้อพิจารณาดังนี้
                1.  ความยากง่ายในการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์  กลุ่มยิ่งเล็ก  การมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์จะยิ่งง่ายขึ้น  ดังนั้นกลุ่ม 2 คน จะมีปฏิสัมพันธ์ได้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
                2.  ความลึกซึ้งของการแสดงความคิดเห็น  กลุ่มที่มีสมาชิกมากกว่าจะสามารถทำงานได้ด้วยความคิดที่ลึกซึ้งและหลากหลายมากกว่า  ดังนั้น 5-6 คน จึงทำงานได้ลึกซึ้งสมบูรณ์กว่ากลุ่มที่มีสมาชิกน้อยกว่า
                จากการวิจัย  พบว่ากลุ่มที่มีสมาชิกเกินกว่า 6 คน จะทำให้การมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ลดลงเนื่องจากมักจะแตกเป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกทีหนึ่งแทนที่จะปฏิสัมพันธ์กันทั้งกลุ่ม
                3.  การกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการทำงานกิจกรรมชนิดต่าง ๆ กิจกรรมบางประเภทไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบาทสมาชิกที่ชัดเจน  ขณะที่กิจกรรมบางประเภทต้องกำหนดบทบาทของสมาชิกกลุ่ม  จึงควรเลือกชนิดของกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ ได้แก่
3.1  กลุ่มที่ไม่มีการกำหนดบทบาทสมาชิก  ได้แก่  กลุ่ม 2 คน  กลุ่ม 3-4 คน  กลุ่มใหญ่คือทั้งชั้น
3.2  กลุ่มที่มีการกำหนดบทบาทสมาชิก ได้แก่  กลุ่ม 3 คน  กลุ่ม 5-6  คน  และกลุ่มนอกเหนือจากนี้  ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมของกิจกรรมแต่ละประเภท
ตัวอย่าง เช่น
กลุ่ม 3 คน  ฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล  กำหนดสถานการณ์ 3 สถานการณ์
                สถานการณ์ที่ 1                    .  เป็นผู้เสริฟ
                                                                .  เป็นผู้รับ
                                                                .  เป็นผู้สังเกตและประเมิน ก.  .
                สถานการณ์ที่ 2 และ 3        หมุนเวียนกันเพื่อให้แต่ละคนทำหน้าที่ครบ
ทั้ง 3 บทบาท
 








                                3.3  กลุ่มใหญ่ทั้งชั้น  จัดเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  มักใช้ในกิจกรรมที่ต้องการให้มีส่วนร่วมพร้อมกันทั้งนั้น เช่น การบรรยายให้หลักการ/แนวคิด/ทฤษฎี  การรายงานผล  การอภิปรายกลุ่ม  การดูสื่อ  ฟังกรณีศึกษา  การรวบรวมประสบการณ์ ฯลฯ

กิจกรรมเสนอแนะ
                เป็นกิจกรรมที่เสนอแนะไว้เป็นทางเลือก  เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเรียนที่แตกต่างกัน  และยังเป็นกิจกรรมที่เสนอไว้สำหรับทำต่อเนื่อง  นอกเหนือไปจากชั่งโมงการเรียนรู้ เช่น อาจแจกงานให้นักเรียนทำนอกเวลาเรียนแล้วส่งเป็นผลงาน  ใช้จัดทำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร  เป็นต้น  นอกจากนี้อาจเป็นกิจกรรมที่เสนอแนะเปิดกว้างให้ผู้เรียนเลือกทำตามความสนใจและความถนัดได้ด้วย
                ตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะ
                -  การสรุปผลงานที่เกิดในชั่วโมงการเรียนรู้นำมาติดบอร์ด
                -  หนังสืออ่านเพิ่มเติมนอกเวลา
                -  ทัศนศึกษาสถานที่ในประวัติศาสตร์
                -  ตัดข่าวที่น่าสนใจนำมาสรุปให้เพื่อนฟังในชั่วโมงโฮมรูม
                                ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. ชุดฝึกอบรมการปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
http://www.lbtech.ac.th/downloads/T50/D1.doc

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา  (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา)  หมายถึง  ศาสตร์ ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุง ประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ  3  ประการ คือ  วัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการ  (boonpan edt01.htm)  
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ  เทคโนโลยี ทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น  (boonpan edt01.htm)       
  ดร.เปรื่อง กุมุท  ได้กล่าวถึงความหมายของ  เทคโนโลยีการศึกษา  ว่าเป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอนให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่  และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)  Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาไม่ใช่เครื่องมือ  แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)         
นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษ า เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้ง นี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็น หลัก  จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์  เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความคิด

รวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ  ตามความคิดรวบยอดนี้  เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง  การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ  ในรูปของสิ่งประดิษฐ์  เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ  มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่การใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน  มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้  โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา  ตามความคิดรวบยอดนี้  ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป  คือมีเพียงวัสดุ  และอุปกรณ์เท่านั้น  ไม่รวมวิธีการ  หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย  ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ  "โสตทัศนศึกษา"  นั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์  เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา  มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม  ภาษา การสื่อความหมาย  การบริหาร  เครื่องยนต์กลไก  การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม  เพื่อให้ผู้เรียน  เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น  แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย  มิใช่วัสดุ  หรืออุปกรณ์  แต่เพียงอย่างเดียว

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา       
  1. การ ขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
              1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
              1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
              1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
              1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
         2. การ เน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรมซึ่ง ทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          3. การ ใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนา เครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์หรือใช้ร่วมกับกระบวนการทาง จิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป  ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่  เปลี่ยนแปลงเวลา  เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้  เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม  ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้  ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น  เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไปแต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง  เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน  หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)  

ทอมัส ฮิวซ์  (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)  ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว  โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)  ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)   แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา"
 มอตัน   (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)  กล่าวว่า "นวัตกรรม  หมายถึง  การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal)  ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ  นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป  แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ"
 ไชยยศ เรืองสุวรรณ  (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13)  กล่าวว่า  "นวัตกรรม  หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม  โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น"
 ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า  "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม  หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ  แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์            ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
 นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มี การเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การ เปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการ ศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้นการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้น ลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้ การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา    
ปัจจัย สำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การ จัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้ อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น            
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)        
 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมที เดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)           
3. การ ใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น           
  - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
              - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - การเรียนทางไปรษณีย์         
 4. ประสิทธิภาพ ในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้อง แสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น             
- มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน

เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม
เพื่อ ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ
1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม
2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ
3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4) ยัง ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี

การปฏิเสธนวัตกรรม
เมื่อ มีผู้ค้นคิดหานวัตกรรมมาใช้ไม่ว่าในวงการใดก็ตาม มักจะได้รับการต่อต้านหรือ การปฏิเสธ ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ลัทธิการปกครอง หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกันดังนี้
1) ความ เคยชินกับวิธีการเดิม ๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ที่ ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้น ๆ บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้น ๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความ ไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของ นวัตกรรมนั้น ๆ ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้น ๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3) ความ รู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่ การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้น ๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะแสวงหานวัตกรรมมาใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมที่นำเอาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ไม่พอเพียงก็จะรู้สึกท้อถอยและปฏิเสธ ในการที่จะนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นของตน
4) ข้อ จำกัดทางด้านงบประมาณ โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง ในสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป จึงไม่สามารถที่จะรองรับต่อค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมนั้น ๆ แม้จะมองเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินการ โดยเฉพาะการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง ดังนั้นจะเป็นได้ว่าปัญหาด้านงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิเส ธนวัตกรรม

การยอมรับนวัตกรรม
 ดังกล่าวมาแล้วว่าบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมเนื่องด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการคือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมความรู้ของบุคคลว่านวัตกรรมและข้อ จำกัดทางด้านงบประมาณ ดังนั้นในการที่จะกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลักทั้ง 4 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

 เอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์, 2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ
1) ขั้นตื่นตัว (Awareness) ในขั้นนี้เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น ๆ
2) ขั้นสนใจ (Interest) เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3) ขั้นไตร่ตรอง (Evaluation) ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4) ขั้นทดลอง (Trial) เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5) ขั้นยอมรับ (Adoption) เมื่อ ทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ นวัตกรรมดังกล่าวก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวรหรือจนกว่าจะเห็นว่า ด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้น อีกต่อไป เมื่อพิจารณากระบวนการยอมรับนวัตกรรมของโรเจอร์แล้ว เปรียบเทียบกับสาเหตุหลัก 4 ประการของการปฏิเสธนวัตกรรมจะเห็นได้ว่าสาเหตุหลัก 3 ประการแรก คือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม และความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม จะสอดคล้องกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรม คือ จะทำอย่างไรจึงจะให้บุคคลนั้น ๆ มีความรู้ในนวัตกรรม ซึ่งเป็นขั้นตื่นตัว (Awareness) เกิดความสนใจ (Interest) ศึกษาหาข้อมูล นำเอาข้อมูลมาไตร่ตรอง (Evaluation) แล้วจึงนำเอาไปทดลอง (Trail) ก่อนที่จะถึงขึ้นสุดท้ายก็คือขั้นของการยอมรับ (Adoption) ใน ส่วนของปัญหาหลักข้อสุดท้ายก็คือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณนั้น เป็นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ ที่อาศัยกระบวนการเป็นองค์ประกอบหลัก เน้นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา หรือการเรียนรู้แบบค้นพบ ก็คงจะแก้ไขปัญหาหลักข้อสุดท้ายได้

นวัต กรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่ กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัต กรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้อง การสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความ ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลัก สูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขา ต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2.  หลัก สูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3.หลัก สูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความ สำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4.  หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น  เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น  แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็น การใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
ตัว อย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่อง จากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการ เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)