วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

OVER DRIVE มีประโยชน์อย่างไร แล้วจะใช้ตอนไหนถึงจะดี

OVER DRIVE มีประโยชน์อย่างไร แล้วจะใช้ตอนไหนถึงจะดี

ความหมายจริง ๆ ของคำว่า Overdrive Ratioคือ .อัตราทดเฟืองเกียร์ที่ทำให้เพลากลางหมุนได้เร็วกว่าเพลาขับตัวเมนของเกียร์ จึงช่วยให้ใช้รองเครื่องต่ำลงและรถวิ่งเร็วขึ้น ซึ่งตามความหมายนี้ก็พอจะถือได้ว่า พวกเฟืองเกียร์ที่มีอัตราทดต่ำกว่า 1 นั้นเป็นเกียร์ Overdrive ส่วน ผลงานของมันจะเป็นอย่างไร ได้ผลมากน้อยขนาดไหน ก็จะต้องขึ้นอยู่กับกำลังเครื่อง อัตราทดเฟืองท้ายเส้นรอบวงยาง น้ำหนักและรูปทรงของรถประกอบกัน

จุดประสงค์ หลักของการใช้งานเกียร์โอเวอร์ไดรว์ คือ ช่วยลดรอบเครื่องยนต์ให้ทำงานน้อยลงกว่าเกียร์อัตราทดปกติเมื่อขับเคลื่อน ด้วยความเร็วที่เท่ากัน เพื่อเป็นการลดความสึกหรอและมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลงอย่างเช่น ในเกียร์ 4 ที่มีอัตราทดเกียร์ 1.000 เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จะใช้รอบเครื่อง 3,400 รอบต่อนาที แต่พอใช้เกียร์ 5 ที่มีอัตราทดเพียง 0.850 ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากัน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องรถยนต์เพียงแค่ 2,800 รอบต่อนาที ย่อมมีการสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่ทำงาน 3,400 รอบต่อนาทีแต่นั้นหมายถึงว่าเราจะต้องวิ่งด้วยความเร็วคงที่เพราะถ้ามีการ เร่งแซงและเปลี่ยนแปลงความเร็วบ่อย ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าเกียร์ 5 หรือ เกียร์โอเวอร์ไดรว์นี้จะสร้างความประหยัดให้เสมอไป เนื่องจากเกียร์ 5 จะมีอัตราเร่งน้อยกว่าเกียร์ 4 ดังนั้นเมื่อมีการ การเร่งแซงคนขับจึงต้องกดคันเร่งลึกกว่าและนานกว่าเพื่อเรียกแรงม้าแรงบิด ออกมาใช้งาน เหมือนกับตอนออกรถซึ่งถ้าออกด้วยเกียร์ 1 กดคันเร่งเบา ๆ ก็ออกตัวไปได้แล้ว แต่ถ้าเปลี่ยนมาออกตัวด้วยเกียร์ 3 ก็จะต้องกดคันเร่งลึกกว่าเดิมเกียร์ 3 ซึ่งมีอัตราทดต่ำกว่าเกียร์ 1 ในความเร็วเท่ากันก็ใช้รอบเครื่องน้อยกว่า แต่การออกรถด้วยเกียร์ 3 มันไม่ได้ลดการสึกหรอและให้ความประหยัด เหมือกับการออกรถด้วยเกียร์ 1 เลย

ด้วยเหตุนี้หากคิดจะใช้เกียร์ Over drive ให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะต้องใช้ให้เป็น และใช้ให้ถูกวิธีด้วย

ใช้ให้ถูกวิธี

ในการใช้เกียร์ Overdrive ให้ ได้ผลเต็มที่นั้น ประการแรกคือต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพการจราจร อย่างเช่น การขับขี่ในเมืองที่ใช้ความเร็วต่ำ มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรเร็วต่ำ มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรใช้ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติที่มีปุ่มเปิด-ปิด ให้ใช้จังหวะ OD off จนกระทั้งเจอทางโล่ง สามารถใช้ความเร็วได้เกินกว่า 60-80 กม./ชม. (ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์) จึงค่อยกดสิวทซ์ OD on เพื่อให้เกียร์เปลี่ยนเป็น Overdrive

พวกรถเกียร์อัตโนมัติที่มีเกียร์ Over drive จะ พยายามอยู่ในตำแหน่งเกียร์สูงสุดเท่าที่จะสามารถ รถบางรุ่นนั้นขนาดคลานด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. ยังไม่ยอมเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำเลยก็มี แบบนี้นอกจากทำให้แรงบิดเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น แทนที่จะเกิดความประหยัดตามความมุ่งหมาย หรือพวกรถเกียร์ธรรมดา เมื่อใช้เกียร์ Overdrive ใน การขับขี่ที่ความเร็วต่ำมาก ๆ จะไม่มีผลเฉพาะอัตราเร่งกับอัตราสิ้นเปลืองเท่านั้น ยังทำให้ชุดขับเคลื่อนและระบบส่งกำลังตลอดจนเครื่องยนต์เกิดชำรุดเสียหายได้ อีกด้วย



ใช้ในการแซง

เมื่อขับอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 60-100 กม./ชม. โดยขับเคลื่อนอยู่ในจังหวะเกียร์ Overdrive และมีความต้องการแซงรถคันข้างหน้าแบบไม่รีบร้อยเร่งด้วยอะไรมากนัก ควรกดสวิทช์เป็น OD off เพื่อ เปลี่ยนเกียร์ลงมาเป็นเกียร์ต่ำก่อน แล้วกดคันเร่ง (เบา ๆ ) เพิ่มกำลังเครื่องแซงขึ้นไป พอพ้นหรือหมดความจำเป็นแล้วจึงค่อยกดสวิทช์เปลี่ยนกลับมาเป็น OD on ตามเดิม วิธีนี้จะรวดเร็วและประหยัดกว่าการเร่งแซงทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในเกียร์ Overdrive ซึ่งจะอืดอาดใช้เวลาในการแซงนานกว่า วิธีนี้จะทำให้การแซง นิ่มนวล กว่าการกดคันเร่งลึกให้เกียร์ Kick Down เปลี่ยน กลับเป็นเกียร์ต่ำ เพราะการคิกดาวน์นั้นเครื่องยนต์จะมีรอบสูง อัตราเร่งรุนแรงกระชากกระชั้นเกินความจำเป็น ซึ่งก็จะนำไปสู่การสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์ (อีกแล้ว)



โอเวอร์ไดรว์ในที่คับขัน

พวกเกียร์ Overdrive มี อัตราทดเกียร์ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีเอนจิ้นเบรค ดังนั้นในการเบรกจะใช้ระยะเบรกยาวกว่าปกติด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัยและ ช่วยให้ใช้ระยะในการเบรกสั้นลง เวลาที่ขับรถในจุดคับขัน เช่น ขับลงทางลาด ลงสะพาน หรืออยู่ในจุดบอดไม่เห็นทางข้างหน้า ควรจะเปลี่ยนกลับมาใช้เกียร์ต่ำ โดยกดสวิทซ์เป็นตำแหน่ง OD off อัตรา สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งละสิบยี่สิบตังค์ แต่ขอให้นึกเทียบกับค่าซ่อมรถเนื่องจากไปสะกิดบั้นท้ายคันอื่นแล้วจะรู้สึก กว่าคุ้มกว่ากันเยอะ โดยเฉพาะรถที่ใช้ระบบเบรค ABS ซึ่งปกติระยะเบรกก็จะยาวกว่ารถที่ไม่มี ABS อยู่แล้ว มาผสมโรงกับจังหวะเกียร์โอเวอร์ไดรว์อีกก็จะไปกันใหญ่ เบรคกันไม่ค่อยทัน ในบางครั้งเราจึงควรกดสวิทช์เป็น OD off ให้ลดลงมาเป็นเกียร์ต่ำเพื่อใช้ เอนจิ้นเบรค มาช่วยลดความเร็วของรถด้วยอีกทางหนึ่ง

ทำนองเดียวกันเวลาขับรถเขาโค้งด้วยความเร็ว ถ้าเรากดสวิทช์เป็น OD off ลดเกียร์ลง จะเกิด
เอนจิ้น เบรคช่วยให้การทรงตัวของรถดีขึ้น สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อีกทั้งสามารถเร่งเครื่องพาตัวรถออกจากโค้งได้รวดเร็วกว่าอีกด้วย การลดเกียร์ลงมาจะให้ความปลอดภัยได้เหนือกว่า หรือหากไปเจอเหตุกะทันหันกลางโค้งก็จะสามารถเบรกชะลอรถและเร่งส่งบังคับควบ คุมรถได้ง่ายขึ้น

เรื่องเบรค ที่ควรรู้

!!! เรื่องของเบรค ที่เราควรรู้ !!!



เบรก สิ่งสำคัญที่ช่วยให้รถยนต์ลดความเร็วลง จากที่ขับเคลื่อนอยู่ หากมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรก แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคงไม่พ้นอุบัติเหตุ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจเช็คระบบห้ามล้อนี้อย่างสม่ำเสมอ และวันนี้หากใครไม่แน่ใจว่ารถตัวเองมีปัญหาระบบเบรกหรือไม่ จงลองศึกษาดูเพราะเมื่อขับรถชีวิตคุณจะขึ้นอยู่กับมัน...โดยเฉพาะอย่างยิงใน หน้าฝน

เบรกตื้อ เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรก แล้วรู้สึกว่า เบรกมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากๆ อาการเบรกตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว อาการนี้นับว่าอันตรายมาก

ควรรีบนำรถเข้าไปตรวจสอบ
กับช่างผู้ชำนาญการ

เบรกต่ำ เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรกค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการของเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรกบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรกซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง



เบรกติด อาการเหมือนรถมีอาการเบรกทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้

การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด หรือจะหาชุดระบบเบรคมา

เปลี่ยนใหม่ก็ได้

เบรกแตก คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อนแล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก

สาเหตุ

1. เกิด จากรั่วของน้ำมันเบรก เช่นสายอ่อนเบรกแตก ท่อแป๊ปเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรก และแม่ปั้มเบรกเก่า เสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด

2. ผ้า เบรกหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรกหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับการเปลี่ยน ผ้าเบรกจะบางมากจนหลุดออกจากฝักก้ามปูเบรก จะทำให้ลูกสูบเบรกหลุด เบรกจะแตกทันที

3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรก (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรกหลุด ฝักเบรก หรือคาริบเปอร์เบรกยึดไม่แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรกประกอบไม่แน่นหลุดออก

4. สาย อ่อนเบรกแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรกกลับ พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลาเหยียบเบรกเบาๆแรงดันน้ำมันเบรกต่ำก็รู้สึกดี แต่พอเวลาคับขัน เหยียบเบรกกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรกก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และการติดตั้งสายอ่อนเบรกไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ

เบรกหมด คืออาการ เบรกแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรกลื่นๆ

เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็น ตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบรกเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรกสีกับจนเบรกเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก



เบรกสั่น คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรกเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรกสั่นมากๆจะรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรก เกิดอาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน

สาเหตุเกิดจาก จานเบรกเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรกที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรกสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรก และดรัมเบรก

เบรกเสียงดัง อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรก ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรก และจานเบรก เช่นผ้าเบรกหมด จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรกเป็นรอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจานเบรกใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรกก็ใหม่ จานเบรกก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้าเบรกเอง ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไปเรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดครับ

เบรกเฟด คืออาการเบรกลื่นๆ เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรกแบบหักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี พอแตะเบรกอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เหยียบเบรกเลย ถือว่าน่ากลัวมาก

สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรกที่สูงเกินไป จานเบรกที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การระบายความร้อนของจานเบรกไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้เสียหาย ไม่สามารถจับจานเบรกให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรกที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้น้ำมันเบรกเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟองอากาศ ทำให้แรงดันไฮโดรลิคลดต่ำลง

อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่ขับด้วย ความเร็วสูง


การดูแลรักษาระบบเบรก และข้อควรระวัง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรกควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรกมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรกเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรกจะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรกเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรกต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกบวมได้



การเช็คระยะห่างผ้าเบรก ในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรกจะต่ำลง และการดึงเบรกมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรกลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรกมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรก ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรกมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก



การตรวจสอบผ้าเบรก ผ้าเบรกเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรก และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรกของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรกที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้น ถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรกในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรกจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรกหลุดออกจากฝักเบรก ลูกสูบปั้มเบรก และน้ำมันเบรกจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรกแตกนั้นเอง



การเปลี่ยนจานเบรก และการเจียรจานเบรก การใช้ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรกมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีลูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรกคืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรก และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรกบางลง จานเบรกที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ถือเป็นการดีที่สุด



การทำความสะอาดจานเบรก ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรก ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น



การตรวจสอบสายอ่อนเบรก ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ

การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก เบรกที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปี ครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรก และแม่ปั้มเบรก จะทำลายลูกสูบเบรกให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรก ทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่วซึม

Credit : Sanook.com